ความรักบางคู่อาจจะอยู่กินด้วยกันสร้างครอบครัวด้วยกันไปตลอดจนบั่นปลายของชีวิต แต่ก็มีบางคู่ที่อาจจะต้องเลิกลากันไประหว่างทาง แต่การเลิกกันของบางคู่ไม่ได้เพียงแค่จากลากันไปนะสิ บางคู่อาจจะมีการกู้บ้านร่วมกันไว้ แล้วเลิกกัน จะทำอย่างไงกับบ้านที่กำลังกู่ร่วมกันอยู่ละ เราจะมีวิธีจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ได้อย่างไงบ้างมาดูกัน
โดยทั่วไป มีวิธีการแก้ปัญหาการกู้ร่วม 3 วิธีดังนี้
ปัญหาหลักของวิธีนี้ คือ การตกลงกันให้ได้ว่าใครจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของบ้านหลังนี้ และอีกฝ่ายต้องยินยอมโอนกรรมสิทธิ์ เพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอม ก็ไม่สามารถถอดถอนชื่อผู้กู้ร่วมได้ แต่หากเจรจากันได้ ก็นัดหมายกันไปที่กรมที่ดินเพื่อขอโอนเปลี่ยนชื่อ โดยฝ่ายที่กู้ต่อก็ต้องผ่อนบ้านเพียงลำพัง ทั้งนี้หากผู้กู้มีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดีหรือรายได้ไม่เพียงพอ ทางธนาคารอาจจะไม่อนุมัติให้ถอดถอนชื่อผู้กู้ร่วม เพราะธนาคารจะมีความเสี่ยงเพิ่ม
อีกหนึ่งทางออกในกรณีที่ธนาคารเก่าไม่อนุมัติการถอดถอนชื่อผู้กู้ร่วม คือ การรีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่เพื่อขอกู้คนเดียว โดยทั่วไปธนาคารจะอนุมัติให้กู้คนเดียวแต่ต้องมีการประเมินว่าผู้กู้มีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่
หากทั้งสองฝ่ายไม่ต้องการบ้านหลังนี้ การขายบ้านถือเป็นวิธีที่ปิดการกู้ร่วมและจบปัญหาได้ง่ายโดยทั้งสองฝ่ายไม่ต้องรับภาระในการผ่อนบ้านต่อ หลังจากที่ขายบ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากการขายจะต้องมาดูว่าบ้านหลังนี้มีมาก่อนการจดทะเบียนสมรสหรือไม่ เพราะหากบ้านนี้มีมาก่อนจดทะเบียนสมรส กำไรที่ได้จากการขายบ้านต้องเป็นของเจ้าของบ้าน
แต่หากเป็นการซื้อบ้านร่วมกันและได้มาภายหลังจดทะเบียนจะถือว่าเป็นสินสมรส ดังนั้นกำไรที่ได้จากการขายบ้านจะถูกแบ่งกันคนละครึ่ง อ่านเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมตัวขายบ้าน
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น คือ ทางแก้สำหรับคู่รักที่ซื้อบ้านร่วมกันแต่เลิกกัน จดทะเบียนสมรสหรือไม่นั้นไม่สำคัญ แต่เมื่อกู้ร่วมกันแล้วก็ต้องหาทางแก้ปัญหาการกู้ร่วมซื้อบ้านร่วมกัน ถึงแม้ว่าการผ่อนต่อคนเดียว ไม่ว่าจะรีไฟแนนซ์หรือไม่ เป็นทางเลือกที่สบายใจแต่ก็ต้องแน่ใจว่าสามารถผ่อนไหวส่วนการเลือกแก้ปัญหาด้วยวิธีการขายบ้านก็ถือเป็นทางออกที่ดีและปิดปัญหาการกู้ร่วมได้โดยไม่ก่อให้เกิดภาระทางการเงิน หากผู้กู้เลือกทางแก้อย่างหลัง
ถ้ายังมีข้อสงสัยหรืออยากจะถามอะไรสอบถามเข้ามาเลยได้ที่